ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ     ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ  (Automated Storage/Retrieval System  เรียกโดยย่อว่า  AS/RS)    คือ    การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ  AS/RS  จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์  AS/RS  ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ          องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ  AS/RS 1.        โครงสร้างที่เก็บวัสดุ  (Storage Structure) 2.        เครื่อง  S/R (Storage/Retrieval Machine) 3.        หน่วยของการเก็บวัสดุ  (Storage Module) 4.        สถานีหยิบและฝากวัสดุ  (Pickup and Deposit Station) อุปกรณ์พิเศษของระบบ  AS/RS 1.        รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ  (Aisle Transfer Car) 2.        อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า / เต็
โพสต์ล่าสุด
ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ     AGV (Automated Guided Vehicle) คือรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติโดยใช้แถบแม่เหล็ก วิชั่น หรือเลเซอร์ เป็นตัวบอกทิศทางให้กับรถเวลาเคลื่อนที่ ส่วนมากใช้ในงานอุตสาหกรรม/โรงงาน/คลังสินค้า ไว้ลำเลียงสินค้า/ชิ้นงาน จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ปัจจุบัน AGV เป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจาก AGV ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงาน ลดข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้แรงงานคน ประโยชน์ ของ AGV 1.ลดค่าใช้จ่ายค่าจ้างแรงงาน / ค่าเช่าอุปกรณ์ / ค่าบำรุงรักษา / ค่าเชื้อเพลิง 2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการขนส่งลำเลียง ที่ตรงเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง 3.ความปลอดภัยในการทำงานเซ็นต์เซอร์ที่มีความแม่นยำสูง 4.สามารถปรับปรุง-เปลี่ยนแปลง สายการผลิตได้โดยง่าย 5.ปราศจากมลภาวะระบบการขนส่งลำเลียงที่สะอาด ปราศจาก ควันพิษและน้ำมัน
หุ่นยนต์อุตสาหกรร อุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation Technology) เข้ามาใช้งานเพื่อให้สินค้าสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ทั้งในเรื่องราคา และคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ อาจเนื่องจากมีการเปลี่ยนรุ่นผลิตภัณฑ์อยู่บ่อยๆ ต้องใช้เวลาในการ Set Up ปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง ได้แก่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เนื่องจากการเปลี่ยนการทำงานสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนโปรแกรม นอกจากนี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสม่ำเสมอเป็นมาตรฐานเดียวกัน การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเลียนแบบร่างกายของมนุษย์ โดยจะเลียนแบบเฉพาะส่วนของร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเท่านั้น นั่นคือช่วงแขนของมนุษย์ ดังนั้น บางคนอาจจะได้ยินคำว่า “แขนกล” ซึ่งก็หมายถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับแขนมนุษย์ แสดงดังรูป 1. Cartesian (Gantry) Robot แกนทั้ง 3 ของหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่เป็นแบบเชิงเส้น (Prismatic) ถ้าโครงสร้างมีลักษณะคล้าย Overhead Crane จะเรียกว่าเป็นหุ่นยนต์ชนิด Gantry แต่ถ้าหุ่นยนต์ไม่มีขาตั้งหร
เครื่องจักร NC            NC   ย่อมาจาก  Numerical Control  หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง  NC  ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม  NC.  ระบบ  NC  ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1950  ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่. ในปัจจุบันระบบ  NC  จะถูกแทนที่ด้วยระบบ  CNC  เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ  NC  ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย  NC   ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว เครื่องจักร DNC            คือ  คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน เครื่องจักร CNC       
สมชิกในห้องเรียน ชื่อ                                                    ชื่อเล่น อาจารย์ ธภัทร ชูโชค                        อาจารย์ปาล์ม 1.นายอัษฎาวุธ หนูเกลี้ยง เค 2.นางสาวอิสรา จันทร์ดำ แฟร์ 3.นางสาวอรณี สว่างเนตร มิ้ว 4. นายเสฎฐวุฒิ ศรีอนันต์ ตั้น 5.นางสาวศตพร วงษ์นิกร พิ้ง 6. นายศตวรรษ อินทร์แก้ว เบียร์ 7.นายธนายุต เกื้อตุ้ง จอม 8.นายอิบรออิม หลีหวัน ฮิม 9.นายยศัสวิน ชูพันธ์ พีค 10.นายพลวัฒน์ ชุมเสน พริว 11.นายพีรพัฒน์ พรมเสน ฮาร์ท 12.นายคณาพัฒน์ เหมพันธุ์ แทน 13.นายนนธวัช มันขวาง ปุ๊ป 14.นางสาวณัฐมน นาคำมูล ราย 15.นายจิรภัทร ลีลาศรีสุนทร โจ้ 16.นายพิชัยยุทธ มณีนิล บ่าว 17.นายสุกฤษฎิ์ สุขใส อ๊อฟ 18.นายอัสรี

บทความทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร

เทคโนโลยีการสื่อสาร ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร                    ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ดังนี้                     เทคโนโลยี  หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม                     สารสนเทศ   หมายถึง  ข่าวสาร  การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ                     ข้อมูล   หมายถึง  ข้อเท็จจริง  หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง                     การสื่อสาร  หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วยรับ ข้อมูลหรือผู้รับสาร                    จากความหมายดังกล่าว  สามารถกล่าวขยายอธิบายเพิ่มเติมได้  คือ                     เทคโนโลยี ( Technology)  มีความหมายมาจากคำ 2 คำ คือเทคนิค (Technique) ซึ่งหมายถึง  วิธีการที่มีการพัฒ